วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

                 วันที่ 29 สิงหาคม 2559  เวลา 13.30-17.30 น. ตึก 15-0905 

         การเรียนวันนี้เป็นวันแรกสำหรับรายวิชาการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยซึ่งมีอาจารย์ผู้สอน 2 ท่าน ที่จะค่อยแวะเวียนมาให้ประสบการณ์ความรู้แก่นักศึกษาเป็นการเปิดการเรียนชองรายวิชาที่เริ่มต้นได้ดี ต่อมาอาจารย์ให้เลือกว่านักศึกษาจะเรียนเนื้อหาก่อนหรือจะเล่นเกมก่อน และกลุ่มเรียนของเราจึงเลือก (เลือกก) เลือกเรียนก่อนค่ะ แล้วค่อยผ่อนคลายกับเกมจากกิจกรรมที่อาจารย์ได้เตรียม ไปดูภาพกิจกรรมกันเลยค่ะ

ความรู้ที่ได้รับ
·       การคิดอย่างคล่องแคล่ว
·       ของเล่นที่แบ่งเพศ ไม่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
·       นำสิ่งที่ขาดมาคิดปรับเปลี่ยนเพื่อใช้ทดแทนสิ่งที่ขาดได้
·       การคิดนอกกรอบ มองให้มีความหลากหลายมุมมอง
·       มั่นใจในสิ่งที่ทำบนความแตกต่างมักสวยงามเสมอถ้าเราเชื่อมั่น

    การมองของคนเราแตกต่างกันค่ะ อยู่แต่ละคนจะบอกเป็นลูกอะไร
 รูปนี้ดิฉันว่าเหมือน แมวดำเพราะตาดูเป็นเพชร
 


                            อันนี้คือให้นักศึกษาลากจุดให้ครบทุกจุด มีข้อแม่คือวาดได้แค่ 4 ครั้ง 
                                      

                                                      สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า จรวดดด

ต่อมาอาจารย์ให้จับคู่ ขีดเขียนไปเรื่อยๆจนจบเพลง 
แล้วมองว่าสิ่งที่เราเมื่อสักครู่ แล้วเราเห็นเป็นภาพลักษณะอย่างไร


รวมกับผลงานของเพื่อน ดูมีชีวิตฃีวาขึ้นมาเลยคับผม

เนื้อหาที่เรียน
     ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการทางปัญญาระดับสูงที่ความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน
หรือกระบวนการคิดอย่างอิสระในเชิงจินตนาการสามารถคิดนอกกรอบเพื่อที่จะนำมาแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้ดีขึ้นได้
คุณค่าของความคิดสร้างสรรค์
·       คุณค่าต่อสังคม
·       คุณค่าที่มีแต่ตนเอง
·       ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
·       ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางอารมณ์
·       มีความภูมิใจและเชื่อมั่นในตนเอง ฯลฯ
องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งเป็น 4ด้าน
1.ความคิดคล่องแคล่ว เชื่อมโยงสัมพันธ์ คิดไว
2.ความคิดริเริ่ม คิดแปลกใหม่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่
3.ความคิดยืดหยุ่น หาสิ่งใหม่มาทดแทนจากสิ่งเดิม
4.ความคิดละเอียดลออ  ความคิดเกี่ยวกับรายละเอียด,การตกแต่ง
พัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ Torrance แบ่งเป็น 3 ระยะ
แรกเกิด-2 ปี มีจินตนาการ สำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
2-4ปี ตื่นตัวกับสิ่งใหม่ ใช้จินตนาการกับการเล่นยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ช่วงความสนใจสั้น
4-6ปี สนุกกับการวางแผน การเล่น รวมถึงการทำงาน ชอบเล่นสมมติเชื่องโยงสิ่งต่างๆ
แต่จะเข้าใจเหตุและผลได้ไม่ดีนัก
บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
     ปล่อยให้เด็กได้ลองเล่นคนเดียว ได้สำรวจ ค้นคว้า และสร้างสรรค์ อย่างอิสระให้มากที่สุดเพราะความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการปล่อยให้เด็กได้เล่นและคิดได้ลองทำสิ่งใหม่รวมถึงให้ความสนใจเด็กจะสามารถแสดงถึงศักยภาพออกมาไอย่างเต็มที่
ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
·       มีไหวพริบ          มีอารมณ์ขัน
·       กล้าแสดงออก     มีสมาธิ
·       อยากรู้อยากเห็น  รักอิสระ
·       ช่างสังเกต          มั่นใจในตนเอง
·       ซาบซึ้งกับสุนทรียภาพ   อารมณ์อ่อนไหวง่าย
·       ไม่ชอบการบังคับ  มีความวิจิตรพิสดาร
·       ชอบเหม่อลอย    ชอบสร้างแล้วรื้อ รื้อแล้วสร้างใหม่
·       ใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การนำไปประยุกต์จากการตั้งคำถามซึ่งจะส่งเสริมในการตั้งคำถามพร้อมกับให้คำชี้แนะเด็กทุกคนเมื่อมีการซักถามกลับไป โดยให้ความเอาใจใส่ในความคิดของเด็กพร้อมทั้งจินตนาการให้เกิดไปทิศทางเดียวกันเด็กจะได้รู้มั่นในคำตอบและการให้ความคิดเห็นทุกครั้ง 

 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งโดยไม่เขินอาย 
ประเมินเพื่อน เพื่อนตั้งใจ ตรงต่อเวลา และเป็นระเบียบเรียบร้อยดีการสอนในวันนี้ของเพื่อน ๆ ทุกคนสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาและช่วยชี้แนะทำให้นักศึกษา
ทำความเข้าใจโดยง่าย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น