วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

 วันที่ 31 ตุลาคม  2559 เวลา13.30 – 17.30 .ตึก15-0905

ความรู้ที่ได้รับ
   การบูรณาการ ได้ทั้ง วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดกระบวนการคิดและส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน   
-   ด้านร่างกาย    เกี่ยวกับเรื่อง น้ำหนัก ส่วนสูง กล้ามเนื้อ สุขภาพอนามัย และประสาทสัมพันธ์ระหว่างกล้าม               เนื้อกับอวัยวะ เช่น ตากับมือ
-   ด้านสติปัญญา   เป็นการแสดดงออกทางด้านความรู้สึกที่เหมาะสมกับสถานการณ์
-   ด้านสังคม        เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงการช่วยเหลือตนเอง
-   ด้านสติปัญญา   เป็นการแบ่งการคิดเป็น การคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงเหตุผล รวมถึงการสื่อสารด้วยภาษา

เนื้อหาที่เรียนรู้ 
กิจกรรม : สื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มใหญ่ จากนั้นจับฉลากเลือกหัวข้อวัสดุ โดย
กลุ่มที่ 1 ประดิษฐ์สื่อจากวัสดุที่เป็นกระดาษลัง
กลุ่มที่ 2 ประดิษฐ์สื่อจากวัสดุที่เป็นขวดพลาสติกอุปกรณ์
กลุ่มข้าพเจ้าได้ทำสื่อวัสดุที่เป็นกระดาษลัง โดยมีแนวคิดประดิษฐ์เป็น ไมโครเวฟจิ๋ว

อุปกรณ์
1. กล่องลัง
2. แผ่นใสหรือถุงพลาสติก
3. ฝาขวดน้ำ
4. สีระบายน้ำ (สีที่ต้องการ)
5. พู่กัน
6. กรรไกร
7. กาว

 ขั้นตอนการประดิษฐ์ 
1. ออกแบบรูปทรงของไมโครเวฟ โดยอิงจากสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
2. ใช้กรรไกรตัดเป็นช่องกระจกของไมโครเวฟ ทากาวกับของกล่องแล้วนำถุงพลากสติกสีส้มมาปิดเป็นกระจกใสของไมโครเวฟ 
3. ลงรูปแบบลายละเอียดของลักษณะของไมโครเวฟ
4. นำฝาขวดน้ำมาติดเข้ากับจุดที่วาดองศาไว้ จากนั้นติดตัั้งให้ฝาขวดน้ำหมุนได้เสมือนจริง
5.นำเศษลังมาประดิษฐ์เป็นที่เปิดเครื่องไมโคเวฟและอหารที่อยู่ภายใน

ภาพประกอบอุปกรณ์











  ภาพประกอบผลงาน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          การประดิษฐ์สื่อที่วัสดุเหลือใช้การทำสื่อที่มีวิธีการที่ง่ายไม่ยุ่งยากนำมาประกอบการสอนเข้ากับหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ไมโครเวฟจิ๋ว นำมาบูรณาการเข้ากับหน่วย เครื่องใช้ในครัวเรือน ให้เด็กได้ลงมือออกแบบสื่อที่เหลือใช้มาให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างความประหยัดรวมถึงรู้คุณค่าของเศษวัสดุที่นำมาประกอบกับการเรียนการสอน
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ช่วยเหลืองานที่ทำได้ทุกอย่างด้วยความตั้งใจ และเต็มใจเสมอเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
 ประเมินเพื่อน  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดีพร้อมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตรงเวลา และแต่งกายเรียบร้อย รวมถึงรับฟังความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา


วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

           วันที่ 24 ตุลาคม 2559  เวลา 13.30-17.30 น. ตึก 15-0905
               ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดชดเชยวันปิยะมหาราช
          >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<



วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

        วัน จันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2559 เวลา 13.30-17.30น. ตึก15-0905

ความรู้ที่ได้รับ
  • สื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ผลงานของเด็ก โดยให้เด็กได้นำเสนอนครบทุกชิ้นงาน
  • เมื่อมีเด็กประพฤติกรรมดี ควรส่งเสริมโดยการเสริมแรง เช่น ชมเชย และให้กำลังใจ
  • ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
  • ไม่แบ่งแยกผลงาน หรือจัดลำดับผลงานเด็ก
  • กระตุ้นการใช้คำถาม คำถามสำหรับเด็ก ควรเป็นคำถามปลายเปิดให้เด็กตอบคำถามได้หลากหลาย
  • หลักการออกแบบสื่อความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาบูรณาการเข้ารายวิชาต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา เป็นต้น
-      ออกแบบจากประสบการณ์เดิม / สิ่งที่เห็น
-      ออกกแบบจากประสบการณ์เดิมและความคิดริเริ่มมีความแตกต่าง
-      ออกแบบจากประสบการณ์เดิม และเชื่อมโยงสื่อถึงอารมณ์

     ------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาที่เรียนรู้ 
กิจกรรม : สื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อันดับแรกจัดแบ่งกลุ่ม 9-10 กลุ่มละ 3 กลุ่ม  จากนั้นเลือกรูปทรงเรขาคณิตคนละ 1 รูปทรงและไม่ซ้ำภายในกลุ่ม เมื่อได้รูปทรงให้แต่ละคนออกแบบรูปทรงของตนเองให้เป็นของใช้หรือสิ่งมีชีวิต แล้วแต่สิ่งที่แต่ละคนอยากจะสื่อออกมา นำรูปภาพที่ได้มาออกแบบระบายสีแลละตัดให้สวยงาม จากนั้นให้แต่ละคนคิดปริศนาคำถทายของแต่ละคน มา 1 คำถาม ที่เชื่อมโยงกับภาพของตนเอง
                                              ขั้นตอนการออกแบบรูปทรงเรขาคณิต



ขั้นตอนการในใส่อักษรปริศนา




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก เช่น สร้างปัญหาให้เด็กได้กล้าคิด ลงมือปฏิบัติกับผลงาน และเห็นถึงสำคัญของประโยชน์ที่ได้จากสื่อ  การนำรูปเรขาคณิตไปใช้ในการสอนเป็นมากกว่ารูปทรงและสร้างผลงานที่เกิดขึ้นจริงจากการประดิษฐ์สิ่งเล็ก ๆ จากความคิดที่เด็กได้ออกแบบหรือนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองในการเรียนรู้
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจรวมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดี และเป็นผู้ฟังที่ดี
ประเมินเพื่อน เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี สามารถโต้ตอบบทสนทนากับอาจารย์ได้ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดีพร้อมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ เปิดใจรับฟังปัญหาร่วมกันกับนักศึกษา




วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

           วันที่ 10 ตุลาคม 2559 เวลา 13.30-17.30น. ตึก15-0905

ความรู้ที่ได้รับ
  • กิจกรรมที่จัดต้องให้เด็กได้เกิดความคิดที่แตกต่าง เด็กได้เปรียบเทียบและตัดสินใจเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่
·         องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์
Guilford ได้แบ่งเป็น 4 ด้าน
1.ความคิดคล่องแคล่ว เชื่อมโยงสัมพันธ์ คิดไวมีความหลากหาย
2.ความคิดริเริ่ม คิดแปลกใหม่แตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่
3.ความคิดยืดหยุ่น หาสิ่งใหม่มาทดแทนจากสิ่งเดิม
4.ความคิดละเอียดลออ  ความคิดเกี่ยวกับรายละเอียด,การตกแต่ง
·        ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
1.กำหนดเรื่อง โดยเลือกเรื่องจาความสำคัญ ความสนใจ และมีผลกระทบต่อเด็ก
2. นำหัวข้อที่ได้มาแตกย่อยเป็นองค์ความรู้ ดังนี้
  • ประเภท/ชนิด 
  • ลักษณะส่วนประกอบ
  • การดูแลรักษา/การถนอม/การดำรงชีวิต
  • ประโยชน์
  • ข้อควรระวัง/โทษ
3.เด็กได้ลงมือปฏิบัติจากประสบการณ์ทั้ง 4 ด้าน

 สาระที่ควรเรียนรู้ 
                                                                 
·        เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
·       เรื่องราวเกี่ยวบุคคล สถานที่ และสิ่งแวดล้อม
·       ธรรมชาติรอบตัวฉัน
·       สิ่งต่างๆ รอบตัว
     ประสบการณ์สำคัญ

·       ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
·       ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ
·       ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
·       ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม

·       กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
·       กิจกรรมสร้างสรรค์
·       กิจกรรมเสรี
·       กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
·       กิจกรรมกลางแจ้ง
·       กิจกรรมเกมการศึกษา





                                     ฐานที่ สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ


        บรูณาการเข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จากการเรียนรู้ลักษณะรูปทรงสิ่งของและภาพจำจองรุ้งกินน้ำ สิ่งประดิษฐ์นี้เรียกว่า จำลองการเกิดรุ่ง ซึ่งเด็กจะเรียนรู้ผ่านการมองเห็นเกิดเป็นภาพสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยพบมาก่อนได้จึงเกิดการเปรียบเทียบและสังเกตภายในตนเองเพื่อหาข้อพิสูจน์ที่แท้จริงในอนาคตข้างหน้า

                                                    ฐานที่ เป่าสีจากฟองสบู่


      บรูณาการเข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จากการเรียนรู้ลักษณะรูปทรงวงกลมและการเกิดฟองอากาศ ภาพนี้ผู้วาดต้องการแสดงถึงลักษณะของตัวผีเสื้อในขณะที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้าในยามเย็นที่แสงกำลังส่องผ่านปีกบ้างๆของเจ้าผีเสื้อด้วยใจที่ไมตรีไปอย่างช้าๆ ตามแรงลมที่พัดผ่าน

                                                      ฐานที่ 3 มหัศจรรย์มือของฉัน


 บรูณาการเข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องการเกิดรุ้ง  
   ออกแบบตามจินตนาการของตนเองเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์แก่ตนเอง

                                                         ฐานที่ 4 แกนกระดาษทิชชู



     บรูณาการเข้ากับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จากการเรียนรู้ลักษณะรูปทรงสิ่งของ การนับจำนวน การเปรียบเทียบและวงจรชีวิตของยุง  โดยออกแบบเป็นแมลงที่ตนเองวาดไว้ภายในใจโดยไม่ซ้ำกับเพื่อนภายในห้อง

       การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การนำไปประยุกต์จากการจัดทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจเลือกกิจกรรมมาจัดทำเป็นฐาน รวมถึงบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้STEM&STEAM 
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้น 
ประเมินเพื่อน เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี ร่วมถึงแสดงความคิดเห็นโต้ตอบบทสนทนากับอาจารย์ได้ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดีพร้อมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ ยิ้มแย้มแจ่มใส รับฟังและแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา



วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

     วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก15-0905

ความรู้ที่ได้รับ                 
  •      กิจกรรมที่เป็นศิลปะ ควรมีตัวอย่างให้เด็กดูทุกครั้ง
เนื้อหาที่เรียนรู้ 
     การเรียนสัปดาห์นี้นำเสนอเกี่ยวกับกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มจัดทำเกี่ยวกับ STEM&STEAM โดยยกตัวอย่าง 1 กิจกรรม เพื่อมาจัดการเรียนรู้ได้จริงจากการสมมติบทบาทโดยแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้  
 - หน่วยปลา 
 - หน่วยบ้าน 
 - หน่วยข้าว (หุ่นไล่กา) 
 - หน่วยข้าว(ทุ่งนา) 
 - หน่วยยาพาหนะ
กลุ่มแรก หน่วยปลา  ได้ความรู้เกี่ยวกับ STEM&STEAM คือ Engineering  Art Technology
อุปกรณ์  
       1.     ดินน้ำมัน   2.     กระดาษสีต่างๆ  3.     ถุง   4.     ไม้จิ้มฟัน   5.     กล่องลัง  6.     กรรไกร   7.     กาว
 วิธีการดำเนินกิจกรรม
    ขั้นสอน  - ครูอธิบายแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ 
               - แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม
               - ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์หน้าชั้นเรียน

                                                          ภาพประกอบกิจกรรม 






ผลงานของหน่วยปลา

กลุ่มสอง หน่วยยานพาหนะ   ได้ความรู้เกี่ยวกับ STEM&STEAM คือ Engineering  Art Math
อุปกรณ์  
      1.     ดินน้ำมัน   2.     กระดาษสีต่างๆ  3.    ไม้ไอศกรีม   4.     ไม้จิ้มฟัน   5.     กล่องลัง  6.     กรรไกร   
 วิธีการดำเนินกิจกรรม
    ขั้นสอน  - ครูอธิบายแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ 
               - แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม
               - ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์หน้าชั้นเรียน 








 
  ผลงานหน่วยยานพาหนะของกลุ่มดิฉัน 
กลุ่มสาม หน่วยข้าว (หุ่นไล่กา)   ได้ความรู้เกี่ยวกับ STEM&STEAM คือ Engineering  Art Math Sicence
อุปกรณ์  
      1.     ไหมพรม   2.     กระดาษสีต่างๆ  3.    ช้อนพลาสติก   4.     เมจิกสีต่างๆ   5.     กาว  6.     กรรไกร   
 วิธีการดำเนินกิจกรรม
    ขั้นสอน  - ครูอธิบายแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ 
               - แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม
               - ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์หน้าชั้นเรียน 







ผลงานของแต่ละกลุ่ม








กลุ่มสี่ หน่วยข้าว (ทุ่งนา)   ได้ความรู้เกี่ยวกับ STEM&STEAM คือ   Art Math 
อุปกรณ์  
     1.  กระดาษ A4    2.   สีเทียน     
 วิธีการดำเนินกิจกรรม
    ขั้นสอน  - ครูอธิบายแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ 
               - แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม

               - ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์หน้าชั้นเรียน 





กลุ่มห้า หน่วยไข่ เลือกระบายสีไข่
 ได้ความรู้เกี่ยวกับ STEM 
คือ   Art Math    
 วิธีการดำเนินกิจกรรม
    ขั้นสอน  - ครูอธิบายแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ 
               - แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม
               - ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์หน้าชั้นเรียน 









กลุ่มหก หน่วยบ้าน วาดภาพบ้านตามจินตนาการ
  ได้ความรู้เกี่ยวกับ STEM&STEAM คือ   Art Math 
อุปกรณ์  
       1.       กระดาษ A4    2.     สีเทียน     
 วิธีการดำเนินกิจกรรม
    ขั้นสอน  - ครูอธิบายแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ 
               - แบ่งเด็กเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม
               - ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาหยิบอุปกรณ์หน้าชั้นเรียน 


  







  
  
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การนำไปประยุกต์จากการให้เด็กคิดสร้างสรรค์จากการลงมือทำกิจกรรมหรือประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง ถามคำถามป้ายเปิดให้เด็กได้แสดงความคิดร่วมกันส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้จากการไม่ถูกบังคับ ให้อิสระร่วมทั้งค่อยสนับสนุนให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ในทุกๆชิ้นงาน
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยคิดเสมอว่าถ้าไม่ทำครั้งนี้แล้วครั้งต่อไปเราอาจไม่ได้ทำ
ประเมินเพื่อน เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี ร่วมถึงแสดงความคิดเห็นโต้ตอบบทสนทนากับอาจารย์ได้ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดีพร้อมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ ยิ้มแย้มแจ่มใส