ยินดีตอนรับสู่บล็อกของนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วย ณ ที่นี้

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

      วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก 15-0905


ความรู้ที่ได้รับ

·        การเคลื่อนไหวแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่

·        การเคลื่อนไหวประกอบด้วย

1.เคลื่อนไหวประกอบเพลง

     2.เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

     3.เคลื่อนไหวตามคำสั่ง

     4.เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม

5.เคลื่อนไหวแบบตามข้อตกลง

6.เคลื่อนไหวโดยความจำ

·        การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ได้หลากหลายวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา การสร้างสรรค์ชิ้นงาน

         ------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาที่เรียนรู้ 

กิจกรรม : ความคิดสร้างสรรค์บูรณาการผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มสมาชิก กลุ่มละ 5 คน จับฉลากเลือกกิจกรรมเคลื่อนไหว โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้ เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย หน่วยไก่


การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

เคลื่อนไหวพื้นฐาน

ครูกำหนดสัญญาณ

-   ถ้าเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็ก ๆ เดิน 1 ก้าว

-   ถ้าเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็ก ๆ เดิน 2 ก้าว

-   ถ้าครูเคาะจังหวะเร็ว ๆ ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่โดยการวิ่งไปรอบ ๆ ห้อง

-   แต่ถ้าครู เคาะจังหวะ 2 ครั้ง ติดกัน ให้เด็ก ๆ หยุดอยู่กับที่ทันที


เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา

ครูนำเข้าสู่เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

       เช้าตรู่ของวันนั้นแม่ไก่ได้ไข่ไก่ไว้ในเล้า ไข่ใบนั้นโตเต็มที่กับการพบกับโลกใหม่เต็มที่ทันใดนั้นไข่ก็มีเสียงดังขึ้น โป๊ะ เป๊ะ !! เป๊ะ เป๊ะ !! ไข่ไก่ค่อย ๆ แตกเป็นรอยแยก แล้วไก่ก็ค่อยขยับปีกตัวเองอย่างช้า ๆ แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นจากไข่ที่แตก จากนั้นไก่ก็เดินตามแม่ไก่เขี่ยหาอาหาร แล้วเจอเม็ดข้าวที่ข้าวสวยเนื้อแน่นอยู่ตรงพื้นอยู่มากมาย จึงร้องเรียกให้แม่ไก้ เพื่อน ๆ พี่ ๆ มาจิกกินข้าว เมื่อกินเสร็จแล้วไก่ก็เดินกลับเล้าที่พัก กระโดดขึ้นเล้า ฮึ้บ ฮึ้บ แล้วก็เข้าไปในอกของแม่ไก่จากนั้นลูกไก่ก็ค่อย ๆ หลับไป


ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

-   ครูกำหนดให้เด็ก หายใจเข้า หายใจออก อย่างช้า ๆ 15 วินาที แล้วค่อย ๆ ลืมตา


 ภาพประกอบกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม



Cr. เพื่อนๆที่รัก

  

 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

            ทบทวนความรู้เกี่ยวการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และนำมาปรับปรุงการสอนของตนเองต่อไป เช่น เพิ่มเติมจากความรู้เดิมคือ การเคลื่อนไหวแบบใช้ความจำ มุ่งเน้ให้เด็กได้คิดและจดจำกับสิ่งที่นำมาเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหว เพื่อให้เด็กได้ใช้องค์ความรู้ในส่วนของตาที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวและความจำลักษณะที่ดี


ประเมินตนเอง  จดบันทึกและเตรียมความพร้อมในการสาธิตการสอนจากกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในรูปแบบที่เป็น การบรรยาย โดยจำจดเนื้อหาลำดับเหตุการณ์อย่างคราว ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรม

 ประเมินเพื่อน  เพื่อนเตรียมความพร้อมในการสอนกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหายได้ดี และสนุกเฮฮาไม่ตึงเคลียดมากเกินไปดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ชี้แนะและให้ข้อสรุปที่ดีในการแก้ไขปัญหาร่วมกับนักศึกษาได้ดี รวมถึงแต่งกายเหมาะสมกับสถานการณ์และเป็นระเบียบเรียบร้อย


วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

           วันที่  พฤศจิกายน  2559 เวลา13.30 – 17.30 .ตึก15-0905
                 >>>>>><<<<<<>>>>>>><<<<<<<>>>>>><<<<<<


ความรู้ที่ได้รับ
   การใช้คำถามตั้งประเด็นคำถาม  ถ้าเราจะทำให้อาหารร้อนแต่ใช้เวลาที่เร็ว เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ?
   การตั้งโดยประสบการณ์  ถ้าเราอยากให้เด็กมีประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับ ห้องครัวจะทำอย่างไรได้บ้าง
   การนำสื่อวัสดุที่มีความหลากหลาย เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขครั้งต่อไป
   การนำไปสื่อที่หลากหลายเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้ เช่น กระดานตั้งโต๊ะ เป็นต้น

เนื้อหาที่เรียนรู้ 
กิจกรรม : นำเสนอสื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยของตนเอง
สื่อวัสดุที่เป็นกระดาษลัง โดยมีแนวคิดประดิษฐ์เป็น ไมโครเวฟจิ๋ว


 ผลงานของเพื่อน ๆ
กระดานเขียนแผ่นชาร์ต 

 เครื่องซักผ้า






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         จากการฟังและศึกษาผลงานของเพื่อน ๆ ทำให้ได้แนวคิดแบะวิธีการสร้างที่หลากหลาายในการดำเนินงาน นำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในการประกอบการเรียนการสอน สื่อที่เสมือนจริงจะช่วยสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย และมีการเรียนรู้อย่างมีเหตุผลและมีประโยชน์สูงสุดในด้านการใข้วัสดุที่คุณค่าและก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีแก่เด็กจากสิ่งที่ใกล้ตัว และนำไปตกแต่งในมุมการเรียนรู้ของงเด็กปฐมวัยได้ เช่น มุมบทบาทสมมติเป็นต้น
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจจดบันทึก แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา
 ประเมินเพื่อน  เพื่อนนำเสนอผลงานของตนเองสามารถเข้าใจได้ง่าย ผลงานที่ได้มีประโยชน์แก่ผู้ทำและเด็ก
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เปิดโอกาศให้นักศึกษาแสดงผลงานที่ได้ทำมาอย่างมีขอบเขตและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน