ยินดีตอนรับสู่บล็อกของนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วย ณ ที่นี้

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก15-0905

     การเรียนการสอนคาบสุดท้ายแล้วในรายวิชาการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ วันเวลาผ่านไปเร็วจนใจหาย วันนี้พบกับอาจารย์ตฤณค่ะ ทุกเทอมที่จบการเรียนการสอนอาจารย์จะมีของรางวัลมามอบให้กับนักศึกษา ที่เข้าเรียนครบ ขาด ลา มาสาย โดยรวมคะแนนที่มากไปน้อย ซึ่งเป็นรางวัลเด็กดีที่หลาย ๆ คนเฝ้ารอ และในวันนี้ทุกกกคนจะได้ สีเมจิ 1 ชุดกลับบ้านไปอย่างฟรี ๆ (ยิ้มแก้มปริ) 

                                               บรรยากาศภายในห้องเรียน

                                  

                                     >>>>>>>รางวัลเด็กดี<<<<<<<<




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้       

  •  การจัดทำกิจกรรมที่นำหลักการคิดสร้างสรรค์เข้ามาเพื่อสามารถนำไปบูรณาการที่หลากหลายวิธีการให้เด็ก สามารถคิดหาเหตุผล การตั้งคำถามก่อนลงมือปฏิบัติ การใช้ประโยชน์จากสื่อที่มีมากกว่า 1 
  • การจัดกิจกรรมที่เป็นเกม เพื่อให้เกิดการใช้ความคิดที่หลากหลายใในการแก้ปัญหาในเด็ก เช่น การตกแต่งแกรนทิษชู การตกแต่งจานกระดาษ 
การประเมินผล
ประเมินตนเอง  อดทนและตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและที่เป็นกลุ่มด้วยความเต็มใจและปฏิบัติที่ดีที่ควร และตระหนักถึงผู้ปกครองในการทำหน้าที่ของตนเองอยู่เสมอ
 ประเมินเพื่อน  เพื่อนมีความตั้งใจและส่งงานครบถ้วน และมีระเบียบเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ให้การสนับสนุน และมอบความรู้ ทักษะที่ดีในการเรียนการสอนรวมถึงการดำเนินชีวิตในประจำวัน โดยมีความเข้าใจและปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การเรียนสอนเป็นไปิย่างสมดุลให้กับนักศึกษา 





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

  วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก15-0905

ความรู้ที่ได้รับ
·     การเรียนรู้จากเสียงดนตรี
·     การเข้าสู่บทเรียนด้วยเสียงเพลงเพื่อผ่อนคลายก่อนการเรียนการสอนและเป็นการเตรียมความพร้อมที่สำหรับเด็กปฐมวัย
·     การแสดงนิทาน มี 3 แบบ
-   แบบไม่มีคำบรรยายผู้แสดงดำเนินเรื่องด้วยตนเอง
-   แบบบรรยายและผู้แสดงมีบทสนทนา ตอบ-โต้ได้
-   แบบบรรยายอย่างเดียว

เนื้อหาที่เรียนรู้ 
กิจกรรม : นิทานรองเท้าที่หายไป                                                             
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มสมาชิก กลุ่มล่ะ 5 คน แต่งนิทานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต โดยกำหนดว่าสิ่งที่ไม่สามารถพูดคุยได้สามารถพูดคุยสื่อสารกับเราได้ โยเลือกสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและอยู่ในความสนใจเด็ก และมีผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวัน ร้องเท้า

บทนิทาน เรื่อง รองเท้าที่หายไป
          เช้าที่อากาศสดใสวันนี้มะลิตื่นเต้นดีใจจะได้ไปเที่ยวทะเล จึงไม่รีรอที่จะตื่นเช้ารีบไปอาบน้ำ เมื่อมะลิอาบน้ำเสร็จจึงรีบวิ่งไปที่ตู้เสื้อผ้าเพื่อเลือกชุดไปทะเล
ตู้เสื้อผ้า : สวัสดีมะลิ วันนี้มะลิจะไปไหนเหรอ
มะลิ : วันนี้มะลิจะไปทะเลจ้ะ พี่ ๆ ช่วยมะลิเลือกเสื้อผ้าหน่อยนะจ๊ะ
เสื้อผ้า : ใส่ฉันสิ ใส่ฉันสิ ใส่ฉันสิ !!!!
เสื้อผ้า : ใส่ฉันดีกว่า !! มะลิ
มะลิ : ใจเย็น ๆ นะคะทุกคน วันนี้มะลิจะใส่พี่กระโปรงและพี่เสื้อยืด ส่วนพี่ ๆ คนอื่น ๆ มะลิจะเอาใส่กระเป๋าไปด้วยนะ
ชุดว่ายน้ำ : มะลิเอาฉันไปด้วยนะ
          จากนั้นมะลิเดินไปหน้าบ้านพร้อมกับกระเป๋า เพื่อใส่รองเท้าเพื่อเตรียมตัวออกจากบ้าน เมื่อใส่ไปได้เพียงหนึ่งข้างกลับพบว่ารองเท้าอีกข้างไม่ได้อยู่ตรงนี้เสียแล้ว……
มะลิ : เอ๊ะ! พี่รองเท้าอีกข้างหนึ่งของมะลิหายไปไหนนะ
รองเท้า : พี่ก็ไม่รู้จ้ะมะลิ ตื่นมาก็ไม่เจอแล้ว
มะลิ : มะลิก็จำไม่ได้ว่าตัวเองเก็บไว้ที่ไหน
เสื้อยืด : ฉันว่าต้องอยู่ในบ้านแน่ ๆ เลย 
กระโปรง : แต่ฉันว่าดุ๊กดิ๊กต้องเอาไปซ่อนแน่ ๆ
แม่ : มะลิไปกันได้แล้วลูก (แม่เรียกมะลิขึ้นรถ)
มะลิ : แต่มะลิยังหารองเท้าไม่เจอเลยค่ะแม่
แม่ : ใส่่คู่อื่นมาแทนก็ได้จ้ะ เราต้องไปแล้ว
คุณนายตื่นสาย : อ่อ !! ใช่คู่หนูรึเปล่าจ้ะมะลิ เมื่อคืนเจ้าดุ๊กดิ๊กคาบมาซ่อนไว้ที่ฉัน
มะลิ : ใช่ค่ะ ขอบคุณนะคะ
คุณนายตื่นสาย : ต้องขอโทษด้วยนะพอดีฉันชอบตื่นสายน่ะ
มะลิ : ไม่เป็นไรค่ะ สายมาแล้วหนูไปก่อนนะคะ 
แล้วมะลิก็รีบวิ่งขึ้นรถ ออกเดินทางไปพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ มุ่งหน้าสู่่ทะเลอย่างสนุกสนาน

 ขั้นตอนเตรียมงาน

 

  ภาพประกอบการแสดงนิทาน





การแสดงจากลุ่มเพื่อน ๆ





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้       
    การร่วมกันแต่งนิทานเพื่อปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรมที่ดีงามให้กับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการแต่งนิทาน และร่วมแสดงในนิทาน เพื่อให้เด็กได้กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและการใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดีและเหมาะสมกับช่วงวัยที่ต้องได้รับการกล่าวสอนที่ดีงาม และเด็กจะเติบโตได้อย่างมีคุณธรรมจากการปลูกฝังจากเรื่องที่ใกล้ตัวและการบอกกล่าวที่ดีของครูผู้สอนรวมถึงบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก
การประเมินผล
ประเมินตนเอง  ตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ ด้วยความเต็มใจและสนุกสนาน
 ประเมินเพื่อน  เพื่อนเตรียมตัวในการแสดงนิทานได้และให้ข้อคิดที่สามารถเข้าใจโดยง่ายเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์ แสดอาจารย์รับชมนิทานและจดบันทึกถึงข้อดีและข้อเสีย จากนั้นสรุปนิทานร่วมกันกับนักศึกษา