วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก15-0905

     การเรียนการสอนคาบสุดท้ายแล้วในรายวิชาการจัดประสบการณ์ความคิดสร้างสรรค์ วันเวลาผ่านไปเร็วจนใจหาย วันนี้พบกับอาจารย์ตฤณค่ะ ทุกเทอมที่จบการเรียนการสอนอาจารย์จะมีของรางวัลมามอบให้กับนักศึกษา ที่เข้าเรียนครบ ขาด ลา มาสาย โดยรวมคะแนนที่มากไปน้อย ซึ่งเป็นรางวัลเด็กดีที่หลาย ๆ คนเฝ้ารอ และในวันนี้ทุกกกคนจะได้ สีเมจิ 1 ชุดกลับบ้านไปอย่างฟรี ๆ (ยิ้มแก้มปริ) 

                                               บรรยากาศภายในห้องเรียน

                                  

                                     >>>>>>>รางวัลเด็กดี<<<<<<<<




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้       

  •  การจัดทำกิจกรรมที่นำหลักการคิดสร้างสรรค์เข้ามาเพื่อสามารถนำไปบูรณาการที่หลากหลายวิธีการให้เด็ก สามารถคิดหาเหตุผล การตั้งคำถามก่อนลงมือปฏิบัติ การใช้ประโยชน์จากสื่อที่มีมากกว่า 1 
  • การจัดกิจกรรมที่เป็นเกม เพื่อให้เกิดการใช้ความคิดที่หลากหลายใในการแก้ปัญหาในเด็ก เช่น การตกแต่งแกรนทิษชู การตกแต่งจานกระดาษ 
การประเมินผล
ประเมินตนเอง  อดทนและตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและที่เป็นกลุ่มด้วยความเต็มใจและปฏิบัติที่ดีที่ควร และตระหนักถึงผู้ปกครองในการทำหน้าที่ของตนเองอยู่เสมอ
 ประเมินเพื่อน  เพื่อนมีความตั้งใจและส่งงานครบถ้วน และมีระเบียบเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ให้การสนับสนุน และมอบความรู้ ทักษะที่ดีในการเรียนการสอนรวมถึงการดำเนินชีวิตในประจำวัน โดยมีความเข้าใจและปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การเรียนสอนเป็นไปิย่างสมดุลให้กับนักศึกษา 





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

  วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก15-0905

ความรู้ที่ได้รับ
·     การเรียนรู้จากเสียงดนตรี
·     การเข้าสู่บทเรียนด้วยเสียงเพลงเพื่อผ่อนคลายก่อนการเรียนการสอนและเป็นการเตรียมความพร้อมที่สำหรับเด็กปฐมวัย
·     การแสดงนิทาน มี 3 แบบ
-   แบบไม่มีคำบรรยายผู้แสดงดำเนินเรื่องด้วยตนเอง
-   แบบบรรยายและผู้แสดงมีบทสนทนา ตอบ-โต้ได้
-   แบบบรรยายอย่างเดียว

เนื้อหาที่เรียนรู้ 
กิจกรรม : นิทานรองเท้าที่หายไป                                                             
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มสมาชิก กลุ่มล่ะ 5 คน แต่งนิทานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต โดยกำหนดว่าสิ่งที่ไม่สามารถพูดคุยได้สามารถพูดคุยสื่อสารกับเราได้ โยเลือกสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและอยู่ในความสนใจเด็ก และมีผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวัน ร้องเท้า

บทนิทาน เรื่อง รองเท้าที่หายไป
          เช้าที่อากาศสดใสวันนี้มะลิตื่นเต้นดีใจจะได้ไปเที่ยวทะเล จึงไม่รีรอที่จะตื่นเช้ารีบไปอาบน้ำ เมื่อมะลิอาบน้ำเสร็จจึงรีบวิ่งไปที่ตู้เสื้อผ้าเพื่อเลือกชุดไปทะเล
ตู้เสื้อผ้า : สวัสดีมะลิ วันนี้มะลิจะไปไหนเหรอ
มะลิ : วันนี้มะลิจะไปทะเลจ้ะ พี่ ๆ ช่วยมะลิเลือกเสื้อผ้าหน่อยนะจ๊ะ
เสื้อผ้า : ใส่ฉันสิ ใส่ฉันสิ ใส่ฉันสิ !!!!
เสื้อผ้า : ใส่ฉันดีกว่า !! มะลิ
มะลิ : ใจเย็น ๆ นะคะทุกคน วันนี้มะลิจะใส่พี่กระโปรงและพี่เสื้อยืด ส่วนพี่ ๆ คนอื่น ๆ มะลิจะเอาใส่กระเป๋าไปด้วยนะ
ชุดว่ายน้ำ : มะลิเอาฉันไปด้วยนะ
          จากนั้นมะลิเดินไปหน้าบ้านพร้อมกับกระเป๋า เพื่อใส่รองเท้าเพื่อเตรียมตัวออกจากบ้าน เมื่อใส่ไปได้เพียงหนึ่งข้างกลับพบว่ารองเท้าอีกข้างไม่ได้อยู่ตรงนี้เสียแล้ว……
มะลิ : เอ๊ะ! พี่รองเท้าอีกข้างหนึ่งของมะลิหายไปไหนนะ
รองเท้า : พี่ก็ไม่รู้จ้ะมะลิ ตื่นมาก็ไม่เจอแล้ว
มะลิ : มะลิก็จำไม่ได้ว่าตัวเองเก็บไว้ที่ไหน
เสื้อยืด : ฉันว่าต้องอยู่ในบ้านแน่ ๆ เลย 
กระโปรง : แต่ฉันว่าดุ๊กดิ๊กต้องเอาไปซ่อนแน่ ๆ
แม่ : มะลิไปกันได้แล้วลูก (แม่เรียกมะลิขึ้นรถ)
มะลิ : แต่มะลิยังหารองเท้าไม่เจอเลยค่ะแม่
แม่ : ใส่่คู่อื่นมาแทนก็ได้จ้ะ เราต้องไปแล้ว
คุณนายตื่นสาย : อ่อ !! ใช่คู่หนูรึเปล่าจ้ะมะลิ เมื่อคืนเจ้าดุ๊กดิ๊กคาบมาซ่อนไว้ที่ฉัน
มะลิ : ใช่ค่ะ ขอบคุณนะคะ
คุณนายตื่นสาย : ต้องขอโทษด้วยนะพอดีฉันชอบตื่นสายน่ะ
มะลิ : ไม่เป็นไรค่ะ สายมาแล้วหนูไปก่อนนะคะ 
แล้วมะลิก็รีบวิ่งขึ้นรถ ออกเดินทางไปพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ มุ่งหน้าสู่่ทะเลอย่างสนุกสนาน

 ขั้นตอนเตรียมงาน

 

  ภาพประกอบการแสดงนิทาน





การแสดงจากลุ่มเพื่อน ๆ





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้       
    การร่วมกันแต่งนิทานเพื่อปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรมที่ดีงามให้กับเด็กปฐมวัย โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการแต่งนิทาน และร่วมแสดงในนิทาน เพื่อให้เด็กได้กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและการใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดีและเหมาะสมกับช่วงวัยที่ต้องได้รับการกล่าวสอนที่ดีงาม และเด็กจะเติบโตได้อย่างมีคุณธรรมจากการปลูกฝังจากเรื่องที่ใกล้ตัวและการบอกกล่าวที่ดีของครูผู้สอนรวมถึงบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดเด็ก
การประเมินผล
ประเมินตนเอง  ตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ ด้วยความเต็มใจและสนุกสนาน
 ประเมินเพื่อน  เพื่อนเตรียมตัวในการแสดงนิทานได้และให้ข้อคิดที่สามารถเข้าใจโดยง่ายเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
ประเมินอาจารย์ แสดอาจารย์รับชมนิทานและจดบันทึกถึงข้อดีและข้อเสีย จากนั้นสรุปนิทานร่วมกันกับนักศึกษา

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

      วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก 15-0905


ความรู้ที่ได้รับ

·        การเคลื่อนไหวแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่และการเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่

·        การเคลื่อนไหวประกอบด้วย

1.เคลื่อนไหวประกอบเพลง

     2.เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

     3.เคลื่อนไหวตามคำสั่ง

     4.เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม

5.เคลื่อนไหวแบบตามข้อตกลง

6.เคลื่อนไหวโดยความจำ

·        การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ได้หลากหลายวิชา เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา การสร้างสรรค์ชิ้นงาน

         ------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาที่เรียนรู้ 

กิจกรรม : ความคิดสร้างสรรค์บูรณาการผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มสมาชิก กลุ่มละ 5 คน จับฉลากเลือกกิจกรรมเคลื่อนไหว โดยกลุ่มข้าพเจ้าได้ เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย หน่วยไก่


การเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

เคลื่อนไหวพื้นฐาน

ครูกำหนดสัญญาณ

-   ถ้าเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็ก ๆ เดิน 1 ก้าว

-   ถ้าเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็ก ๆ เดิน 2 ก้าว

-   ถ้าครูเคาะจังหวะเร็ว ๆ ให้เด็ก ๆ เคลื่อนที่โดยการวิ่งไปรอบ ๆ ห้อง

-   แต่ถ้าครู เคาะจังหวะ 2 ครั้ง ติดกัน ให้เด็ก ๆ หยุดอยู่กับที่ทันที


เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา

ครูนำเข้าสู่เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย

       เช้าตรู่ของวันนั้นแม่ไก่ได้ไข่ไก่ไว้ในเล้า ไข่ใบนั้นโตเต็มที่กับการพบกับโลกใหม่เต็มที่ทันใดนั้นไข่ก็มีเสียงดังขึ้น โป๊ะ เป๊ะ !! เป๊ะ เป๊ะ !! ไข่ไก่ค่อย ๆ แตกเป็นรอยแยก แล้วไก่ก็ค่อยขยับปีกตัวเองอย่างช้า ๆ แล้วค่อย ๆ ลุกขึ้นจากไข่ที่แตก จากนั้นไก่ก็เดินตามแม่ไก่เขี่ยหาอาหาร แล้วเจอเม็ดข้าวที่ข้าวสวยเนื้อแน่นอยู่ตรงพื้นอยู่มากมาย จึงร้องเรียกให้แม่ไก้ เพื่อน ๆ พี่ ๆ มาจิกกินข้าว เมื่อกินเสร็จแล้วไก่ก็เดินกลับเล้าที่พัก กระโดดขึ้นเล้า ฮึ้บ ฮึ้บ แล้วก็เข้าไปในอกของแม่ไก่จากนั้นลูกไก่ก็ค่อย ๆ หลับไป


ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

-   ครูกำหนดให้เด็ก หายใจเข้า หายใจออก อย่างช้า ๆ 15 วินาที แล้วค่อย ๆ ลืมตา


 ภาพประกอบกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม



Cr. เพื่อนๆที่รัก

  

 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

            ทบทวนความรู้เกี่ยวการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ และนำมาปรับปรุงการสอนของตนเองต่อไป เช่น เพิ่มเติมจากความรู้เดิมคือ การเคลื่อนไหวแบบใช้ความจำ มุ่งเน้ให้เด็กได้คิดและจดจำกับสิ่งที่นำมาเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหว เพื่อให้เด็กได้ใช้องค์ความรู้ในส่วนของตาที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวและความจำลักษณะที่ดี


ประเมินตนเอง  จดบันทึกและเตรียมความพร้อมในการสาธิตการสอนจากกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะในรูปแบบที่เป็น การบรรยาย โดยจำจดเนื้อหาลำดับเหตุการณ์อย่างคราว ๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรม

 ประเมินเพื่อน  เพื่อนเตรียมความพร้อมในการสอนกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มได้รับมอบหายได้ดี และสนุกเฮฮาไม่ตึงเคลียดมากเกินไปดี

ประเมินอาจารย์ อาจารย์ชี้แนะและให้ข้อสรุปที่ดีในการแก้ไขปัญหาร่วมกับนักศึกษาได้ดี รวมถึงแต่งกายเหมาะสมกับสถานการณ์และเป็นระเบียบเรียบร้อย


วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

           วันที่  พฤศจิกายน  2559 เวลา13.30 – 17.30 .ตึก15-0905
                 >>>>>><<<<<<>>>>>>><<<<<<<>>>>>><<<<<<


ความรู้ที่ได้รับ
   การใช้คำถามตั้งประเด็นคำถาม  ถ้าเราจะทำให้อาหารร้อนแต่ใช้เวลาที่เร็ว เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ?
   การตั้งโดยประสบการณ์  ถ้าเราอยากให้เด็กมีประสบการณ์ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับ ห้องครัวจะทำอย่างไรได้บ้าง
   การนำสื่อวัสดุที่มีความหลากหลาย เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขครั้งต่อไป
   การนำไปสื่อที่หลากหลายเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้ เช่น กระดานตั้งโต๊ะ เป็นต้น

เนื้อหาที่เรียนรู้ 
กิจกรรม : นำเสนอสื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยของตนเอง
สื่อวัสดุที่เป็นกระดาษลัง โดยมีแนวคิดประดิษฐ์เป็น ไมโครเวฟจิ๋ว


 ผลงานของเพื่อน ๆ
กระดานเขียนแผ่นชาร์ต 

 เครื่องซักผ้า






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         จากการฟังและศึกษาผลงานของเพื่อน ๆ ทำให้ได้แนวคิดแบะวิธีการสร้างที่หลากหลาายในการดำเนินงาน นำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองในการประกอบการเรียนการสอน สื่อที่เสมือนจริงจะช่วยสร้างประสบการณ์เรียนรู้ที่ดีให้กับเด็กปฐมวัย และมีการเรียนรู้อย่างมีเหตุผลและมีประโยชน์สูงสุดในด้านการใข้วัสดุที่คุณค่าและก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีแก่เด็กจากสิ่งที่ใกล้ตัว และนำไปตกแต่งในมุมการเรียนรู้ของงเด็กปฐมวัยได้ เช่น มุมบทบาทสมมติเป็นต้น
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจจดบันทึก แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา
 ประเมินเพื่อน  เพื่อนนำเสนอผลงานของตนเองสามารถเข้าใจได้ง่าย ผลงานที่ได้มีประโยชน์แก่ผู้ทำและเด็ก
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เปิดโอกาศให้นักศึกษาแสดงผลงานที่ได้ทำมาอย่างมีขอบเขตและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน


วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

 วันที่ 31 ตุลาคม  2559 เวลา13.30 – 17.30 .ตึก15-0905

ความรู้ที่ได้รับ
   การบูรณาการ ได้ทั้ง วิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ที่หลากหลาย เกิดกระบวนการคิดและส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน   
-   ด้านร่างกาย    เกี่ยวกับเรื่อง น้ำหนัก ส่วนสูง กล้ามเนื้อ สุขภาพอนามัย และประสาทสัมพันธ์ระหว่างกล้าม               เนื้อกับอวัยวะ เช่น ตากับมือ
-   ด้านสติปัญญา   เป็นการแสดดงออกทางด้านความรู้สึกที่เหมาะสมกับสถานการณ์
-   ด้านสังคม        เป็นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงการช่วยเหลือตนเอง
-   ด้านสติปัญญา   เป็นการแบ่งการคิดเป็น การคิดสร้างสรรค์ และการคิดเชิงเหตุผล รวมถึงการสื่อสารด้วยภาษา

เนื้อหาที่เรียนรู้ 
กิจกรรม : สื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มใหญ่ จากนั้นจับฉลากเลือกหัวข้อวัสดุ โดย
กลุ่มที่ 1 ประดิษฐ์สื่อจากวัสดุที่เป็นกระดาษลัง
กลุ่มที่ 2 ประดิษฐ์สื่อจากวัสดุที่เป็นขวดพลาสติกอุปกรณ์
กลุ่มข้าพเจ้าได้ทำสื่อวัสดุที่เป็นกระดาษลัง โดยมีแนวคิดประดิษฐ์เป็น ไมโครเวฟจิ๋ว

อุปกรณ์
1. กล่องลัง
2. แผ่นใสหรือถุงพลาสติก
3. ฝาขวดน้ำ
4. สีระบายน้ำ (สีที่ต้องการ)
5. พู่กัน
6. กรรไกร
7. กาว

 ขั้นตอนการประดิษฐ์ 
1. ออกแบบรูปทรงของไมโครเวฟ โดยอิงจากสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน
2. ใช้กรรไกรตัดเป็นช่องกระจกของไมโครเวฟ ทากาวกับของกล่องแล้วนำถุงพลากสติกสีส้มมาปิดเป็นกระจกใสของไมโครเวฟ 
3. ลงรูปแบบลายละเอียดของลักษณะของไมโครเวฟ
4. นำฝาขวดน้ำมาติดเข้ากับจุดที่วาดองศาไว้ จากนั้นติดตัั้งให้ฝาขวดน้ำหมุนได้เสมือนจริง
5.นำเศษลังมาประดิษฐ์เป็นที่เปิดเครื่องไมโคเวฟและอหารที่อยู่ภายใน

ภาพประกอบอุปกรณ์











  ภาพประกอบผลงาน






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
          การประดิษฐ์สื่อที่วัสดุเหลือใช้การทำสื่อที่มีวิธีการที่ง่ายไม่ยุ่งยากนำมาประกอบการสอนเข้ากับหน่วยที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ไมโครเวฟจิ๋ว นำมาบูรณาการเข้ากับหน่วย เครื่องใช้ในครัวเรือน ให้เด็กได้ลงมือออกแบบสื่อที่เหลือใช้มาให้เกิดประโยชน์เพื่อสร้างความประหยัดรวมถึงรู้คุณค่าของเศษวัสดุที่นำมาประกอบกับการเรียนการสอน
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ช่วยเหลืองานที่ทำได้ทุกอย่างด้วยความตั้งใจ และเต็มใจเสมอเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
 ประเมินเพื่อน  มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดีพร้อมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ตรงเวลา และแต่งกายเรียบร้อย รวมถึงรับฟังความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา


วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

           วันที่ 24 ตุลาคม 2559  เวลา 13.30-17.30 น. ตึก 15-0905
               ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดชดเชยวันปิยะมหาราช
          >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<