ยินดีตอนรับสู่บล็อกของนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วย ณ ที่นี้

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

 วันที่ 19 กันยายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก 15-0905
            
               การเรียนสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนตามตาราง อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้ เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับSTAM & STAEM ผ่านกิจกรรมที่ผู้เรียนหรือตัวเด็กเองได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติในลักษณะที่เป็นความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจรวมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งมีกิจกรรมดังต่อไปนี้ 
 Creative  Thinking
“STEM & STEAM”
                                              กลุ่มเราได้ : หน่วยปลา

  
ลำดับที่
กิจกรรม
STAM & STAEM
            แนวคิด
1
สร้างบ่อปลา
-         Engineering
-         Art
-         Technology
-         ที่อยู่อาศัย
2
การเคลื่อนไหวประกอบคำบรรยาย/เพลง
-         Music
-         Language
-         Movement
-         วงจรชีวิตของปลา
3
การจัดหมวดหมู่ ปลาที่ออกลูกเป็นไข่และตัว
-         Math
-         การสืบพันธ์ของปลา
4
สื่อนิทานมัติมิเดีย
-         Technology
-         Language
-         ลักษณะของปลา
5
ตัดแปะ
-         Art
-         Math
-         ลักษณะของปลา
6
Cooking
-         Science
-         ประโยชน์ของปลา

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การนำไปประยุกต์จากการให้เด็กคิดสร้างสรรค์จากการลงมือทำกิจกรรมกลุ่ม ให้อิสระทางความคิดร่วมทั้งค่อยสนับสนุนให้กำลังใจในการสร้างสรรค์การทำงานของเด็กๆ การแสดงออกทางความคิดเห็นที่มีลักษณะที่หลากหลายรวมเป็นหนึ่งเหตุผลที่จะไปนำใช้ได้ ซึ่งเราอาจจะปรับเปลี่ยนหมุนเวียนโดยให้แต่ละคนมีบทบาทที่เหมาะสมและครบถ้วนให้ความสำคัญกับคำตอบ รวมไปถึงให้ความรู้ที่เป็นจริงเพื่อเกิดความเข้าใจในการนำไปใช้จริง
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้น ตั้งใจทำงานเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์อาจารย์มีการวางแผนและมอบหมายชิ้นงานให้นักศึกษาทำโดยอาจารย์ช่วยชี้แนะ คำตอบในข้อที่นักศึกษาสงสัยทำให้นักศึกษาเกิดความเข้าใจโดยง่าย


                         

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

     วันที่ 12 กันยายน 2559 เวลา 13.30-17.30 น. ตึก 15-0905

                                             บรรยากาศภายในห้องเรียน
      การเรียนสัปดาห์นี้เป็นการพบเจอเพื่อนชั้นปี 3 บรรยากาศดูอบอุ่นเป็นพิเศษ จากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์มาทำกิจกรรมวันนี้ ได้แก่ กิ่งไม้ 4-5 อัน อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับผีเสื้อนำมาคนละ 1 อย่าง ต่อมาอาจารย์สอนเกี่ยวกับ STEM ศึกษา  

ความรู้ที่ได้รับ
  • STEM เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอเมริกา
  • การคิดคำถามในเชิงใกล้ตัวเด็ก
  • เข้าใจถึงความหมายของSTEM & STEAM
 กิจกรรมของผู้โชคดี ซึ่งสภาพอากาศภายนอกฟ้าครึ้ม ฝนตกจากช่วงเช้าตรู่ทำให้เพื่อนมาสาย การแสดงสุดพิเศษจึงเกิดขึ้น ณ บัดดล!! ♫♪..... Fly Fly Fly The Butterfly .....♫♪





เนื้อหาที่เรียนรู้ 
STEM Education ค่อนข้างเป็นที่แพร่หลายในปฐมวัย แต่ยังไม่เข้าใจในกระบวนการอย่างลึกซึ่ง
STEM เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำหลักทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
S = Sciences คือ ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ดวงดาว ดาราศาสตร์ อากาศ แรงดัน สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
การเรียนรูวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย มี 4 ขั้น ที่ควรคำนึง
 - เรื่องราวเกี่ยวกับตัวฉัน
 - บุคคลและสถานที่
 - สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
 - ธรรมชาติรอบตัว
T = Technology  นำศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์มาทำให้เกิดประโชยน์เพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต เทคโนโลยีที่ไม่ใช้ไฟฟ้าแต่เกิดประโยชน์กับผู้ใช้ ได้แก่ ดินสอ ยางลบ ปากกา แก้วน้ำพลาสติก เป็นต้น
E = Engineering การออกแบบ การสร้าง หรือวางแผน ทำให้เกิดการคิดพัฒนาออกแบบในรูปแบบต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์มากขึ้น
M = Matermatic  จำนวน ตัวเลข รูปงทรง ปริมาณ ความสัมพันธ์ พีชคณิต การคำนวณที่เที่ยงตรง ซึ่งใช้ในการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน 

STEAM เพิ่มเติมจาก STEM คือ เพิ่มเติม A เข้ามา ซึ่ง A ในที่นี้คือ ART  ศิลปะ การคิดสร้างสรรค์ผลงาน เช่น การประดิษฐ์ของเล่นจากกล่องนม การวาดรูปกล่องนม  

การจัดรูปแบบการสอน STEM ในเด็กปฐมวัย
ตัวอย่าง เรื่องหน่วย นม
การตั่งคำถาม นมมีกี่ชนิด นมมาจากไหน แล้วมีรสชาติอย่างไร  ได้เรื่อง  Sciences
                  การรีดนมวัว บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุ การแปรรูป     ได้เรื่อง  Technology  
                  การออกแบบผลิตภัณฑ์  โลโก้ของยี่ห้อ นม       ได้เรื่อง  Engineering
                  ราคาเท่าไร สังเกตวันหมดอายุ ปริมาณของนม   ได้เรื่อง   Matermatic 

กิจกรรมที่1 : ตกแต่งจานกระดาษ 
อุปกรณ์ : 1.จานกระดาษ
            2.สีเทียน
            3.กรรไกร
            4.ไม้ไอศกรีม
            5.เทปสองหน้า



 ขั้นตอนการทำ 

1.ออกแบบรูปทรงของปีกผีเสื้อ
2.ใช้กรรไกรตัดกระดาษที่ออกแบบไว้

 3.ระบายสีปีกและไม้ไอศกรีมผีเสื้อตามใจชอบ

4.ใช้เทปสองหน้าติดประกอบเป็นผีเสื้อ


กิจกรรมที่ 2 : วัฏจักรผีเสื้อ
อุปกรณ์ : 1.กิ่งไม้
            2.เชือก
            3.เทปสองหน้า
            4.อะไรก็ได้ที่เกี่ยวผีเสื้อของกลุ่ม
            5.ใบไม้,ดอกไม้
            6.ตะข่ายมุ้งสีขาว.

ขั้นตอนการทำ
1.ออกแบบโครงสร้างของที่อยู่ของผีเสื้อ 
2.แบ่งหน้าที่ในการทำงานของแต่ละคน
3.ปั้นดินน้ำมัน เป็น ดักแด้ ผีเสื้อ ไข่ผีเสื้อ ใบไม้ หนอน
4.นำไปติดกับโครงที่อยู่ของผีเสื้อ
5.นำไปมุ้งไปครอบไว้ให้สวยงาม

6.บันทึกเก็บภาพทำวิดีโอ วัฏจักรผีเสื้อ

 หน้าที่ของกลุ่มที่ได้รับผิดชอบ มีดังนี้
สิริกัลยา : รวมกันออกแบบโครงสร้างที่อยู่ของผีเสื้อ ตัดตกแต่งผีเสื้อจำลอง และรับผิดชอบการตัดต่อบันทึกวิดีโอวัฏจักรผีเสื้อ  ปั้นดินน้ำมัน
เกตุวรินทร์ : ตัดแตกแต่งผีเสื้อจำลอง ปั้นดินน้ำมัน ไข่ผีเสื้อ จัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติมที่กลุ่มต้องการ
ชื่นนภา : ออกแบบโครงสร้างที่อยู่ของผีเสื้อ ปั้นดินน้ำมันผีเสื้อ หนอน
ยุคลธร : ตัดแตกแต่งผีเสื้อจำลอง ปั้นดินน้ำมัน ใบไม้ หนอน
พรประเสริฐ : รวมกันการตัดต่อบันทึกวิดีโอวัฎจักรผีเสื้อ  ปั้นดินน้ำมัน



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การนำไปประยุกต์จากการให้เด็กคิดสร้างสรรค์จากการลงมือทำกิจกรรมหรือประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง ถามคำถามป้ายเปิดให้เด็กได้แสดงความคิดร่วมกันส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้จากการไม่ถูกบังคับ ให้อิสระร่วมทั้งค่อยสนับสนุนให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ในทุกๆชิ้นงาน
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยคิดเสมอว่าถ้าไม่ทำครั้งนี้แล้วครั้งต่อไปเราอาจไม่ได้ทำ
ประเมินเพื่อน เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี ร่วมถึงแสดงความคิดเห็นโต้ตอบบทสนทนากับอาจารย์ได้ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดีพร้อมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ประเมินอาจารย์อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาและช่วยชี้แนะทำให้นักศึกษา
ทำความเข้าใจโดยง่าย


วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

             วันที่ 5 กันยายน 2559  เวลา 13.30-17.30 น. ตึก 15-0905

         การเรียนสัปดาห์นี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาดูวิดีโอ ภาพสะท้อนบนรถเมล์ ซึ่งเป็นวิดีโอที่ถูกส่งต่อและเผยแพร่ในสังคมโซเซียล เป็นการแสดงออกถึงปฏิกิริยาที่คนในสังคมต้องเคยพบเจอเมื่อขึ้นรถเมล์แต่อาจจะเป็นบางสายหรือบางคัน ก่อนเรียนเนื้อหาอาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาทำก่อนนั้นก็คือ Marshmallow Tower (ต่อน้ำมันให้สูงโดยมีไม้จิ้มฟันช่วยพยุง) จากนั้นเรียนเนื้อหาจนแล้วเสร็จ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ 2 อย่าง คือ 1.กิจกรรมเรือน้อยบรรทุกของ 2.ออกแบบชุดจากกระดาษหนังสือพิมพ์ 

ความรู้ที่ได้รับ
  • การเรียนรู้ของแต่ละคนแตกต่างกันขึ้นอยู่ประสบการณ์เดิมของแต่ละบุคคล
  • การเล่น คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัย
  • กิจกรรมที่ให้เด็กได้ความคิดสร้างสรรค์ คือ การให้เด็กได้ลงมือสร้างและประดิษฐ์ชิ้นงานด้วยตนเอง
 
                           

กิจกรรม : Marshmallow Tower 
อุปกรณ์  1.ดินน้ำมัน
            2.ไม้จิ้มฟัน
ขั้นตอนการทำกิจกรรม
            1.ข้อกำหนดครั้งแรก ไม่พูดคุยหรือตกลงกัน ให้ต่ออย่างไรก็ได้ให้สูงที่สุด
            2.ข้อกำหนดครั้งที่สอง ไม่พูดคุยยกเว้นหัวหน้าสั่งการได้ ต่อให้สูงที่สุด
            3.ข้อกำหนดครั้งที่สาม พูดคุยตกลงกันได้ ต่อให้สูงที่สุด




ขั้นที่1
ขั้นที่2
ขั้นที่3
กิจกรรมสร้างสรรค์ : เรือน้อยบรรทุกของ
อุปกรณ์   1.กระดาษ
             2.ตะเกียบ
             3.หนังยาง
วิธีการเล่น : ให้แต่ละกลุ่มพับเรือของตนเองจากอุปกรณ์ที่ให้แบบใดก็ได้ เรือลำใดสามารถบรรทุกซอสมะเขือได้มากสุดและไม่จมกลุ่มนั้นก็จะได้รับเสียงเฮ้....((ยินดี))และเสียงตบมือจากเพื่อนๆเป็นกำลังใจ.........
ผลการบรรทุกซอสจากเรือลำน้อยของกลุ่ม ได้จำนวน 49 ซอง ไม่จมน้ำ จ้าาาาาาา
 






กิจกรรมสร้างสรรค์
 : ออกแบบชุดจากกระดาษหนังสือพิมพ์
อุปกรณ์ : หนังสือพิมพ์
หลักการการเดินแฟชั่นโชว์  1.แนะนำตัว ชื่อ - นามสกุล
                                  2.มาจากประเทศอะไร
                                  3.บอกสิ่งที่เกี่ยวกับตัวตน







การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
                การนำไปประยุกต์จากการให้เด็กคิดสร้างสรรค์จากการลงมือทำกิจกรรมหรือประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง ถามคำถามป้ายเปิดให้เด็กได้แสดงความคิดร่วมกันส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม เชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้จากการไม่ถูกบังคับ ให้อิสระร่วมทั้งค่อยสนับสนุนให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ในทุกๆชิ้นงาน
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจและเป็นผู้ฟังที่ดีร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยคิดเสมอว่าถ้าไม่ทำครั้งนี้แล้วครั้งต่อไปเราอาจไม่ได้ทำ
ประเมินเพื่อน เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี ร่วมถึงแสดงความคิดเห็นโต้ตอบบทสนทนากับอาจารย์ได้ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดีพร้อมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี
ประเมินอาจารย์อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ให้ความรู้แก่นักศึกษาและช่วยชี้แนะทำให้นักศึกษา
ทำความเข้าใจโดยง่าย