ยินดีตอนรับสู่บล็อกของนางสาวเกตุวรินทร์ นามวา ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วย ณ ที่นี้

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

        วัน จันทร์ ที่ 17 ตุลาคม 2559 เวลา 13.30-17.30น. ตึก15-0905

ความรู้ที่ได้รับ
  • สื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ผลงานของเด็ก โดยให้เด็กได้นำเสนอนครบทุกชิ้นงาน
  • เมื่อมีเด็กประพฤติกรรมดี ควรส่งเสริมโดยการเสริมแรง เช่น ชมเชย และให้กำลังใจ
  • ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคน
  • ไม่แบ่งแยกผลงาน หรือจัดลำดับผลงานเด็ก
  • กระตุ้นการใช้คำถาม คำถามสำหรับเด็ก ควรเป็นคำถามปลายเปิดให้เด็กตอบคำถามได้หลากหลาย
  • หลักการออกแบบสื่อความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาบูรณาการเข้ารายวิชาต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา เป็นต้น
-      ออกแบบจากประสบการณ์เดิม / สิ่งที่เห็น
-      ออกกแบบจากประสบการณ์เดิมและความคิดริเริ่มมีความแตกต่าง
-      ออกแบบจากประสบการณ์เดิม และเชื่อมโยงสื่อถึงอารมณ์

     ------------------------------------------------------------------------------------

เนื้อหาที่เรียนรู้ 
กิจกรรม : สื่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อันดับแรกจัดแบ่งกลุ่ม 9-10 กลุ่มละ 3 กลุ่ม  จากนั้นเลือกรูปทรงเรขาคณิตคนละ 1 รูปทรงและไม่ซ้ำภายในกลุ่ม เมื่อได้รูปทรงให้แต่ละคนออกแบบรูปทรงของตนเองให้เป็นของใช้หรือสิ่งมีชีวิต แล้วแต่สิ่งที่แต่ละคนอยากจะสื่อออกมา นำรูปภาพที่ได้มาออกแบบระบายสีแลละตัดให้สวยงาม จากนั้นให้แต่ละคนคิดปริศนาคำถทายของแต่ละคน มา 1 คำถาม ที่เชื่อมโยงกับภาพของตนเอง
                                              ขั้นตอนการออกแบบรูปทรงเรขาคณิต



ขั้นตอนการในใส่อักษรปริศนา




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
      ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก เช่น สร้างปัญหาให้เด็กได้กล้าคิด ลงมือปฏิบัติกับผลงาน และเห็นถึงสำคัญของประโยชน์ที่ได้จากสื่อ  การนำรูปเรขาคณิตไปใช้ในการสอนเป็นมากกว่ารูปทรงและสร้างผลงานที่เกิดขึ้นจริงจากการประดิษฐ์สิ่งเล็ก ๆ จากความคิดที่เด็กได้ออกแบบหรือนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองในการเรียนรู้
 การประเมินผล
ประเมินตนเอง ตั้งใจรวมทำกิจกรรมกับเพื่อนได้ดี และเป็นผู้ฟังที่ดี
ประเมินเพื่อน เพื่อนเป็นผู้ฟังที่ดี สามารถโต้ตอบบทสนทนากับอาจารย์ได้ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่ดีพร้อมและเป็นระเบียบเรียบร้อยดี 
ประเมินอาจารย์ อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยให้เกียรติสถานที่ เปิดใจรับฟังปัญหาร่วมกันกับนักศึกษา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น